การจำแนกสาร
จะสามารถจำแนกออกเป็น 4 กรณี ได้แก่
1. การใช้สถานะเป็นเกณฑ์
แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
- สถานะที่เป็นของแข็ง (
Solid ) จะมีรูปร่าง และ ปริมาตรคงที่
ซึ่งอนุภาคภายในจะอยู่ชิดติดกัน เช่น ด่าง ทับทิม
( KMnO4 ) , ทองแดง ( Cu )
- สถานะที่เป็นของเหลว (
Liquid ) จะมีรูปร่างตามภาชนะที่บรรจุ และ มีปริมาตรที่คงที่
ซึ่งอนุภาคภายในจะอยู่ชิดกันน้อยกว่าของแข็ง และ มีสมบัติเป็นของไหล เช่น น้ำมัน ,
แอลกอฮอล์ , ปรอท ( Hg ) ฯลฯ
- สถานะที่เป็นก๊าซ ( Gas
) จะมีรูปร่าง และ ปริมาตรที่ไม่คงที่ โดยรูปร่าง
จะเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ อนุภาคภายในจะอยู่ ห่างกันมากที่สุด และ
มีสมบัติเป็นของไหลได้ เช่น ก๊าซหุงต้ม , อากาศ
2. การใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์
จะมีสมบัติทางกายภาพของสารที่ได้จากการสังเกตลักษณะความแตกต่างของเนื้อสาร
ซึ่งจะจำแนกได้ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
- สารเนื้อเดียว ( Homogeneous
Substance ) หมายถึง สารที่มีเนื้อสารเหมือนกันทุกส่วน
ทำให้สารมีสมบัติเหมือนกันตลอดทุกส่วน เช่น แอลกอฮอล์ , ทองคำ
( Au ) , โลหะบัดกรี
- สารเนื้อผสม ( Heterogeneous
Substance ) หมายถึง สารที่มีเนื้อสารแตกต่างกันในแต่ละส่วน
จะทำให้สารนั้นมีสมบัติ ไม่เหมือนกันตลอดทุกส่วน เช่น น้ำอบไทย , น้ำคลอง ฯลฯ
3. การละลายน้ำเป็นเกณฑ์ จะจำแนกได้ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
- สารที่ละลายน้ำได้
เช่น เกลือแกง ( NaCl ) , ด่างทับทิม ( KMnO4 ) ฯลฯ
- สารที่ละลายน้ำได้บ้าง
เช่น ก๊าซคลอรีน ( Cl2 ) , ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2
) ฯลฯ
- สารที่ไม่สามารถละลายน้ำได้
เช่น กำมะถัน ( S8 ) , เหล็ก ( Fe ) ฯลฯ
4. การนำไฟฟ้าเป็นเกณฑ์
จะจำแนกได้ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
- สารที่นำไฟฟ้าได้ เช่น
ทองแดง ( Cu ) , น้ำเกลือ ฯลฯ
- สารที่ไม่นำไฟฟ้า เช่น
หินปูน ( CaCO3 ) , ก๊าซออกซิเจน ( O2 )
แต่โดยส่วนใหญ่นักเคมี
จะแบ่งสารตามลักษณะเนื้อสารเป็นเกณฑ์ ดังนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น